การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ

 

การบริหารจัดการน้ำ (Water Resource Management)

น้ำเป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัทเป็นอย่างมาก เป็นวัตถุดิบหลักอย่างหนึ่งที่ใช้ในกระบวนการผลิต โดยบริษัทได้ตระหนักและให้ความสำคัญในการนำทรัพยากรน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติและน้ำผิวดินรวมถึงน้ำทิ้งจากกระบวนการผลิต มาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อภาพรวมในการบริหารจัดการน้ำของโครงการชลประทานลุ่มแม่น้ำป่าสักและผู้ร่วมใช้น้ำจากแม่น้ำป่าสัก

 

เป้าหมายการดำเนินงาน

เป้าหมายระยะสั้น ภายใน 1-2 ปี

เป้าหมายระยะยาว ไม่น้อยกว่า 3 ปี

·  นำน้ำทิ้งจากกระบวนการผลิตไฟฟ้ากลับมากรองใช้ใหม่ได้ไม่น้อยกว่า 30,000 ลบ.ม./เดือน

·  ลดการใช้น้ำเฉลี่ยต่อหน่วยการผลิตไฟฟ้าให้ไม่เกิน 4.5 ลิตร/kWh ในปี 2565, 4 ลิตร/kWh ในปี 2566  และ 3.60 ลิตร/kWh ในปี 2567

·    นำน้ำทิ้งจากกระบวนการผลิตไฟฟ้ากลับมากรองใช้ใหม่ได้ไม่น้อยกว่า 50,000 ลบ.ม./เดือน

 

การดำเนินงานที่สำคัญ

กลุ่มทีพีไอ โพลีนได้แสดงเจตนารมณ์ที่ชัดเจนในการบริหารจัดการน้ำภายใน เพื่อให้เกิดการใช้น้ำร่วมกันกับชุมชนอย่างคุ้มค่าที่สุด  โดยแหล่งน้ำใช้ของบริษัท จะจัดหาโดย บมจ. ทีพีไอโพลีน โดยมีแหล่งน้ำดิบมาจาก 2 แหล่งหลัก คือแม่น้ำป่าสัก และน้ำจากบ่อเก็บน้ำผิวดินรวมทั้งน้ำทิ้งภายในโรงงาน ตามรายละเอียด(303-1) ดังนี้

  1. น้ำจากแม่น้ำป่าสัก จะถูกสูบขึ้นมายังโรงปรับคุณภาพน้ำของโรงปูนซิเมนต์ซึ่งเป็นระบบผลิตน้ำประปา เพื่อส่งไปใช้งานในกระบวนการผลิตต่าง ๆ ทั้งโรงงานปูนซิเมนต์ และโรงไฟฟ้า
  2. น้ำจากบ่อเก็บน้ำผิวดินและน้ำทิ้งภายในโรงงาน ซึ่งประกอบด้วย
    • บ่อน้ำขนาด 180,000 ลูกบาศก์เมตร ซึ่งเป็นบ่อรองรับน้ำฝนที่ตกลงในพื้นที่โรงงาน
    • บ่อน้ำขนาด 1,5000,000 ลูกบาศก์เมตร ซึ่งเป็นบ่อรองรับน้ำฝนที่ตกลงในพื้นที่เหมืองและพื้นที่ใกล้เคียง
    • บ่อน้ำขนาด 1,000,000 ลูกบาศก์เมตร โดย บมจ. ทีพีไอ โพลีน เพื่อเป็นแหล่งน้ำใช้สำรองของบริษัท รวมทั้งเพื่อป้องกันผลกระทบต่อการใช้น้ำของประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียง โดยน้ำจากบ่อเก็บน้ำผิวดินที่กล่าวมานี้จะถูกสูบไปรวมกับน้ำจากแม่น้ำป่าสักเพื่อปรับปรุงคุณภาพก่อนส่งมาใช้ในโรงงานปูนและโรงผลิตไฟฟ้าต่อไป และยังเป็นบ่อกักเก็บน้ำสำรองไว้ใช้ในหน้าแล้งหากปริมาณน้ำจากแม่น้ำป่าสักไม่เพียงพอต่อการใช้งานในภาคอุตสาหกรรม

 

นอกจากนี้ กลุ่มทีพีไอโพลีนยังมีการใช้น้ำบาดาลสำหรับผลิตน้ำดื่มจำหน่าย และใช้ดื่มภายในโรงงาน สำหรับแนวทางที่กลุ่มทีพีไอโพลีนได้ปฏิบัติ คือลดการใช้ทรัพยากรน้ำจากแม่น้ำธรรมชาติ โดยการทำบ่อกักเก็บน้ำผิวดิน เพื่อเป็นแหล่งน้ำสำรองให้เพียงพอสำหรับใช้ในโรงงานปูนซิเมนต์และโรงผลิตไฟฟ้า ทั้งนี้ เพื่อป้องกันผลกระทบต่อการใช้น้ำของประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียง บริษัทจึงดำเนินการดังนี้

 

  • การสูบน้ำจากแม่น้ำป่าสักของบริษัทจะถูกควบคุมโดยสำนักงานโครงการชลประทาน จังหวัดสระบุรี โดยสำนักงานจะออกใบอนุญาตให้บริษัท สูบน้ำได้ไม่เกินเดือนละ 1,000,000 ลูกบาศก์เมตร โดยบริษัท จะต้องจัดทำรายงานสรุปปริมาณการสูบน้ำจากแม่น้ำป่าสัก ส่งให้สำนักงานโครงการชลประทาน จังหวัดสระบุรี เป็นประจำทุกเดือน   นอกจากนี้ สำนักงานโครงการชลประทานจะจัดเจ้าหน้าที่เข้ามาตรวจสอบมิเตอร์เพื่อตรวจสอบปริมาณการสูบน้ำจากแม่น้ำป่าสักของบริษัทเป็นประจำทุกเดือน(303-1)
  • เนื่องจากแม่น้ำป่าสักมีการใช้งานจากหลายภาคส่วน ไม่ว่าเป็นภาคการเกษตร ภาคอุตสาหกรรม ภาคธุรกิจพาณิชย์ ภาคครัวเรือน เป็นต้น ดังนั้น จึงต้องมีการควบคุมและจัดสรรการใช้น้ำ โดยสำนักงานโครงการชลประทานสระบุรี จะเป็นผู้ควบคุมและจัดสรรการใช้น้ำ เพื่อให้ทุกภาคส่วนได้รับการจัดสรรน้ำอย่างเหมาะสมและเป็นธรรม(303-1)
  • บริษัทไม่มีการระบายน้ำทิ้งออกนอกโรงงาน โดยบริษัทจะมีบ่อเก็บรวบรวมน้ำทิ้งเพื่อนำน้ำทิ้งกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ภายในโรงงาน แต่อย่างไรก็ตาม บริษัท จัดให้มีการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำทิ้งเป็นประจำทุกเดือน(303-2)

                นอกจากนี้ กลุ่มทีพีไอ โพลีนได้ปฏิบัติตามแนวทางหลัก 3Rs (Reduce, Reuse, Recycle)  โดยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำ ได้แก่ การลดปริมาณการใช้น้ำในกระบวนการผลิต และนำน้ำเสียจากสำนักงานกลับมาผ่านระบบการบำบัด และนำกลับมาใช้ใหม่ พร้อมกับการตรวจสอบบ่อน้ำดี และบ่อน้ำเสีย ตลอดจนน้ำที่ได้จากการบำบัดน้ำเสียตลอดเวลาโดยไม่มีการระบายออกนอกโรงงาน (water treatment) เช่น การรดน้ำต้นไม้และนำกลับมาใช้ใหม่ เป็นต้น

 

  • แนวทางการวัดประสิทธิผลเทียบกับเป้าหมายที่มีการกำหนด

                      บริษัทได้ดำเนินการบริหารตามระบบ ISO 14001 ซึ่งการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียเป็นข้อกำหนดหนึ่งที่สำคัญในระบบ ISO 14001  คือความเข้าใจถึงความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย  ด้วยเหตุนี้เพื่อให้การดำเนินกิจการของบริษัทไม่ส่งผลกระทบต่อการใช้น้ำของชุมชน  ทางบริษัทจึงมีการสร้างบ่อกักเก็บน้ำฝนเพื่อใช้ในกระบวนการผลิต ในช่วงฤดูร้อนที่แหล่งน้ำธรรมชาติมีปริมาณน้ำน้อย ถึง 2,680,000 ลูกบาศก์เมตร และบริษัทไม่มีการระบายน้ำทิ้งออกนอกโรงงาน โดยบริษัทจะมีบ่อเก็บรวบรวมน้ำทิ้งเพื่อนำน้ำทิ้งกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ภายในโรงงาน

ผลการดำเนินงาน

ในปี  2566 บริษัทสามารถนำน้ำทิ้งจากกระบวนการผลิตไฟฟ้ากลับมากรองใช้ใหม่ เท่ากับ 31,955.08 ลูกบาศก์เมตรต่อเดือน  ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดให้การนำน้ำทิ้งจากกระบวนการผลิตไฟฟ้ากลับมากรองใช้ใหม่ ไม่น้อยกว่า  30,000 ลูกบาศก์เมตรต่อเดือน  และมีอัตราการใช้น้ำประปาต่อหน่วยการผลิตไฟฟ้าเท่ากับ 3.64 ลิตร/kWh ซึ่งลดลงจาก 4.41 ลิตร/kWh ในปี 2565