การขับเคลื่อนเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน (BCG )

 

การขับเคลื่อนเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน (Bio-Circular-Green Economy - BCG )

เศรษฐกิจหมุนเวียน(Circular Economy), เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) และเศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy )

 

                กลุ่มบริษัททีพีไอโพลีนเพาเวอร์ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการใช้ทรัพยากร ภายใต้การเติบโตของประชากรโลก ขณะที่แหล่งทรัพยากรมีจำกัด และการใช้ทรัพยากรที่ไม่มีประสิทธิภาพที่จะก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมา นอกเหนือจากการสิ้นเปลืองทรัพยากร  ยังรวมถึงการใช้พลังงาน การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อน การก่อให้เกิดขยะจากการบริโภค และเป็นภาระให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมขึ้นอย่างมากมาย ซึ่งรวมถึงผลกระทบจากขยะในทะเล

“ เรากำลังใช้ทรัพยากรธรรมชาติของรุ่นลูกหลาน ”  ประโยคดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องกลับมาตระหนักถึง การใช้ทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งการใช้วัตถุดิบ พลังงาน การลดปัญหาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ปัญหาขยะล้นโลก อันเป็นผลทำให้เกิดสภาวะโลกร้อน กลุ่มบริษัท ทีพีไอโพลีนเพาเวอร์ จึงได้มุ่งมั่นในการเข้ามามีบทบาทแก้ไขปัญหาดังกล่าว ให้กับโลกของเราภายใต้หลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน           (Circular Economy) โดยดำเนินการให้ครบทุกขั้นตอนตั้งแต่การวางแผนวิจัยพัฒนา กระบวนการผลิต และผลิตภัณฑ์ที่ไปยังผู้บริโภค เพื่อให้เกิดการหมุนเวียนในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ การใช้พลังงานเชื้อเพลิงหมุนเวียน การจัดการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับของที่เหลือจากกระบวนการผลิต และการจัดการของเสียเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการใช้ทรัพยากรและความยั่งยืน ในห่วงโซ่อุปทาน กับภาคธุรกิจ สังคม ชุมชน

                กลุ่มบริษัททีพีไอโพลีนเพาเวอร์ได้กำหนดทิศทางการดำเนินการของกลุ่มบริษัททั้งหมดโดยตั้งเป้ามุ่งเข้าสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยการดำเนินการตามทางเศรษฐกิจหมุนเวียน ( Circular Economy ) เพื่อใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ด้วยการหมุนเวียนทรัพยากรหรือการนำกลับมาใช้ใหม่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด การดำเนินด้านเศรษฐกิจสีเขียว ( Green Economy) โดยการมีเป้าหมายเพื่อการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งในการใช้ทรัพยากร การผลิตผลิตภัณฑ์ ตลอดจนซากของผลิตภัณฑ์ ไปสู่การผลิตแบบคาร์บอนต่ำ ( Low carbon production) โดยมีเป้าหมายเบื้องต้นคือการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก อันเป็นสาเหตุของปัญหาโลกร้อน โดยการใช้พลังงานทดแทน เข้ามาในระบบการผลิต นอกจากนี้กลุ่มบริษัททีพีไอโพลีนเพาเวอร์ยังมุ่งที่จะพัฒนาการผลิตและผลิตภัณฑ์ของกลุ่มบริษัท โดยการนำเทคโนโลยีชีวภาพมาใช้ในการเพิ่มคุณค่า หรือประยุกต์ใช้ร่วมกับผลิตภัณฑ์ของกลุ่มบริษัท เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและสนับสนุนภาคเกษตรกรรมของประเทศ เพื่อให้เกิดเป็นเศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy )

               

 

การเชื่อมโยงของการดำเนินการทั้งสามส่วน  เศรษฐกิจหมุนเวียน ( Circular Economy ) ด้านเศรษฐกิจสีเขียว( Green Economy) และเศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy )  ร่วมกันคือ การดำเนินการเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน เรียกว่า Bio-Circular-Green Economy  ( BCG )  ซึ่งเป็นกลยุทธ์ในการขับเคลื่อนกลุ่มบริษัททีพีไอโพลีนเพาเวอร์ ให้เติบโต ด้วยนวัตกรรม ที่แข่งขันได้ในระดับโลก และทำให้เกิดการกระจายรายได้ สู่ชุมชน ด้วยการรักษาสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป

 

               

 

กลุ่มบริษัททีพีไอโพลีนเพาเวอร์ได้ดำเนินการในทุกๆขั้นตอนตั้งแต่การวิจัยพัฒนา การจัดหาทรัพยากร วัตถุดิบในการผลิตและพลังงานโดยการใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่า หมุนเวียนกลับมาใช้ให้มากที่สุด การผลิตที่มีประสิทธิภาพสูงทั้งการใช้ทรัพยากรและการรักษาสิ่งแวดล้อม การผลิต และผลิตภัณฑ์สีเขียวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งผู้บริโภคผลิตภัณฑ์ดังกล่าวนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมสร้างโลกสีเขียว โดยครอบคลุมไปถึงการขาย การขนส่ง และ การบริการ โดยกลุ่มบริษัททีพีไอโพลีนเพาเวอร์ได้ดำเนินการโดยสังเขป ดังนี้

 

 

  1. การวิจัยและพัฒนาสีเขียว ( Green Research and Development )
  • การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีการใช้วัตถุดิบทดแทน (Alternative Raw material )
  • การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีการใช้วัตถุจากที่เหลือทิ้ง (Recycle Raw material )
  • การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูง เพื่อลดปริมาณการใช้ของผู้บริโภค
  • การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่มีการใช้พลังงานในการผลิตที่ลดลง
  • การผลิตสินค้าเพื่อนำมาใช้ทดแทนการตกแต่งเพื่อความสวยงามแทนการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ
  • การสร้างนวัตกรรม (Innovation) ของผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ตอบสนองต่อการใช้งานและเป็นผลิตภัณฑ์สีเขียว

 

  1. การจัดหาทรัพยากร วัตถุดิบในการผลิต และ พลังงาน ( Raw materials and Energy Resource)
  • การใช้แหล่งวัตถุดิบที่มีผลกระทบต่อแหล่งทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด เช่น
  • โดยเลือกวัตถุดิบจากผู้ประกอบการที่มีการใช้วัตถุ recycle เช่นกระดาษที่ใช้ผลิตถุงปูนซิเมนต์ อะไหล่ที่มีการนำเนื้อเหล็กจากชิ้นส่วนเดิมไปหล่อใหม่ เป็นต้น
  • การทำบ่อกักเก็บน้ำฝน เพื่อใช้แทนการใช้น้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติ
  • การใช้วัตถุดิบที่ได้ทุกส่วนมาอย่างคุ้มค่า การใช้ซ้ำ การนำส่วนที่เหลือมาใช้ (Reuse , Recycle) เช่น
  • หินปูนจากเหมืองหินจะมีการนำส่วนที่เหลือ หรือมีคุณภาพต่ำจากการทำปูนซิเมนต์ มาผลิตหินก่อสร้าง ทราย ดินก่อสร้าง และวัตถุดิบในการทำปูนมอร์ต้า เป็นต้น โดยใช้หินปูนทุกส่วนโดยไม่มีทิ้ง
  • การ recycle น้ำทิ้งจาก หอระบายความร้อน เพื่อทำการปรับปรุงคุณภาพเพื่อให้นำมาใช้ใหม่แทนการปล่อยทิ้ง
  • การนำน้ำมันเครื่อง น้ำมันหล่อลื่นที่ใช้แล้วมาใช้ในการเป็นเชื้อเพลิง
  • การใช้วัตถุดิบทดแทนที่มาจากของเสีย ของเหลือจาก การผลิต ( Waste Recycle) เช่น
  • การใช้เถ้าหนัก ( Bottom Ash) จากโรงไฟฟ้า เป็นวัตถุดิบทดแทน วัตถุดิบในการผลิตปูนซิเมนต์
  • การใช้เถ้าเบา (Fly ash) จากโรงไฟฟ้า เป็นวัตถุดิบทดแทนในปูนซิเมนต์
  • การ recycle bottom ash ในโรงไฟฟ้า เพื่อใช้แทนทรายในการเติมระดับ Bed
  • การใช้วัตถุดิบที่เป็นวัตถุดิบทดแทน (Renewable Alternative Raw material)
  • การใช้หินปูนที่เหลือจากโรงงานหินก่อสร้างแทนการใช้ทรายแม่น้ำในโรงไฟฟ้า
  • การใช้ฝุ่นหินปูนในการทดแทนการใช้ปูนเม็ดในการผลิตปูนซิเมนต์
  • การใช้น้ำจากขยะในโรงงานผลิตเชื้อเพลิง RDF ในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์
  • การใช้เชื้อเพลิงทดแทน (Renewable Fuels)
  • การนำขยะชุมชนมาผลิตเป็นเชื้อเพลิงทดแทน RDF สำหรับโรงไฟฟ้าและโรงงานปูนซิเมนต์
  • การนำน้ำมันหล่อลื่น ยางรถยนต์ หรือ เศษวัสดุ ที่เกิดในจากกระบวนการในโรงงานที่ให้ความร้อนนำมาเป็นเชื้อเพลิง
  • การใช้พลังงานทดแทน ( Renewable Energy)
  • การผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน หรือ โรงไฟฟ้า RDF
  • การผลิตน้ำมันจากยางรถยนต์ จากโรงงาน Pyrolysis
  • การใช้พลังงานความร้อนทิ้งกลับมาใช้งาน ( Heat Recovery )
  • นำความร้อนทิ้งจากกระบวนผลิตมาใช้ซ้ำในการอุ่นวัตถุดิบ ใน หม้อบดวัตถุดิบ และ หม้อบดถ่านหิน
  • นำความร้อนทิ้งจากกระบวนการผลิตในการผลิตไอน้ำเพื่อใช้ในการผลิตไฟฟ้าและการผลิตอิฐมวลเบา

 

  1. การผลิตที่มีประสิทธิภาพสูงและผลกระทบสิ่งแวดล้อมต่ำ(High Efficiency and Low emission Process )
  • การใช้กระบวนการผลิตและเครื่องจักรการผลิตที่มีประสิทธิภาพสูง
  • การใช้เครื่องจักรที่มีประสิทธิภาพในการประหยัดพลังงานสูง เช่น invertor
  • การปรับเปลี่ยนเครื่องจักร clinker cooler ในการผลิตปูนเม็ดเพื่อลดการใช้พลังงาน
  • การออกแบบปล่องโรงงานด้วยการใช้ Vertex design เพื่อลดการใช้พลังงาน
  • การใช้สายพานขนหินลงจากเหมือง และสามารถผลิตไฟฟ้าป้อนกลับ แทนการใช้รถบรรทุก
  • การใช้ Mobile Crusher เพื่อลดการขนส่งหิน
  • การดำเนินการโครงการอนุรักษ์พลังงานต่างๆ
  • การใช้ระบบควบคุมการผลิตที่เป็นระบบ Process Automation เพื่อความแม่นยำในกระบวนการผลิต
  • ใช้ระบบ Process Automation ในการควบคุมการผลิตจากห้องควบคุมกลาง
  • มีโปรแกรมการควบคุมระบบการเผาไหม้ การลดการใช้เชื้อเพลิง พลังงานไฟฟ้าและให้ได้ปูนเม็ดคุณภาพสูง
  • การนำ IOT และ Data technology เพื่อใช้ในการจัดการข้อมูลการผลิต และการประมวลผลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต
  • การควบคุมและการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากการผลิต
  • ติดตั้งระบบตรวจวัดคุณภาพอากาศที่ปล่อยจากปล่องโรงงาน แบบการวัดต่อเนื่อง (Continuous Emission Monitoring ;CEM)
  • การติดตั้งเครื่องดักฝุ่นแบบถุงกรอง และ แบบไฟฟ้าสถิต
  • การติดตั้งเครื่องล้างล้อรถบรรทุกในการขนส่งต่างๆในโรงงาน รวมถึงของลูกค้า
  • การทำหลังคาคลุม ในการจัดเก็บวัตถุดิบ และถ่านหิน เพื่อควบคุมการฟุ้งกระจาย
  • การใช้เครื่องจักรอัตโนมัติ หรือ หุ่นยนต์ ในการผลิต
  • การใช้เครื่องจักรอัตโนมัติในการจัดเก็บตัวอย่างวัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์ เพื่อส่งวิเคราะห์คุณภาพ เพื่อควบคุมการผลิต
  • การใช้หุ่นยนต์ในการทำงาน เช่นการบรรจุหีบห่อผลิตภัณฑ์
  • การใช้หุ่นยนต์ในการเชื่อม และการซ่อมบำรุง

 

  1. ผลิตภัณฑ์สีเขียว ( Green Products )
  • ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานต่างๆ จากทั้งในประเทศและนานาชาติ
  • ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูง สามารถลดปริมาณการใช้เพื่อคงคุณภาพงาน
  • ผลิตภัณฑ์ ที่สะดวกต่อการขนส่ง จัดเก็บ และใช้งาน
  • ผลิตภัณฑ์ ที่ไม่เป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม
  • ผลิตภัณฑ์ที่สามารถประหยัดพลังงานในการใช้งานจริง
  • ผลิตภัณฑ์ที่สามารถกำจัดซากได้ ไม่มีสารอันตรายปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์

 

  1. การขาย การขนส่ง และ การบริการ
  • การออกแบบบรรจุภัณฑ์ ในการขนส่งสินค้า
  • การใช้ระบบ Process Automation ในการขนถ่ายสินค้า
  • การส่งเสริมการขนส่งที่มีประสิทธิภาพและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน
  • การใช้ Digital Platform ในการขาย การจัดส่งสินค้า
  • การให้บริการลูกค้าในการใช้งานผลิตภัณฑ์ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
  • การนำบรรจุภัณฑ์ภายหลังจากการใช้งานมาใช้ประโยชน์หมุนเวียน

 

นโยบายคุกกี้

This website stores cookies to provide you with a better experience of our website, and to enable us to provide you with offers, promotional activities, and personalised content. Use of this website is an acceptance of the terms and consent to us to store cookies in accordance with the policy initially stated. เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของคุณให้ดียิ่งขึ้น รวมถึงให้เราสามารถมอบข้อเสนอ กิจกรรมส่งเสริมการขาย เลือกเนื้อหาที่เหมาะสมให้กับคุณอย่างเป็นส่วนตัว การใช้งานเว็บไซต์นี้เป็นการยอมรับข้อกำหนดและยินยอมให้เราจัดเก็บคุกกี้ตามนโยบายที่แจ้งในเบื้องต้น